การผลิตรถยนต์ TOYOTA

ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System: TPS) คือระบบการผลิตของ TOYOTA ที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิตด้วยการกําจัดของเหลือหรือของส่วนเกินต่างๆจากกระบวนการผลิตมุ่งเน้น ผลิตแต่สินค้าที่ขายได้เท่านั้น เพราะ TOYOTA มองว่าสินค้าที่ผลิตแล้วขายไม่ได้ถือเป็นต้นทุนชนิดหนึ่งด้วย ปรัชญาการผลิตเพื่อไม่ให้เกิดของเหลือหรือของส่วนเกินนี้เองทําให้ TOYOTA สามารถผลิตรถยนต์ได้โดยมี ต้นทุนในการผลิตที่ตํ่ากว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น หลักการสําคัญในการลดต้นทุนการผลิตของ TOYOTA คือ Just In Time (JIT) และ JIDOKA 
ust In Time (JIT) 
       Just-In-Time   ในความหมายที่ตรงตัวหมายถึงทันเวลาพอดี ทํางานให้พอดีเวลาวางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี 
       สําหรับระบบการผลิตแบบ Just  In  Time   หรือระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีของ TOYOTA  นั้น หมายถึงการผลิตหรือส่งมอบสิ่งที่ต้องการในเวลาที่ต้องการด้วยจํานวนที่ต้องการโดยใช้ความ ต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกําหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบและใช้ Pull System    ในการควบคุม วัสดุคงคลังและการผลิตทําให้ไม่เกิดของเหลือหรือของส่วนเกินทั้งในส่วนของวัตถุดิบงานระหว่างทําและสินค้าสําเร็จรูป 

       ระบบการผลิตแบบ Just  In  Time จะเริ่มต้นจากขั้นตอนของปรับให้สายการผลิตมีความราบเรียบ สมํ่าเสมอในทุกขั้นตอนหรือที่เรียกว่าการทํางานแบบ Heijunka    หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Leveled Production  ในขั้นตอนนี้ระยะเวลาการผลิตในแต่ละกระบวนการจะถูกควบคุมด้วยระบบ Takt  Time   เพราะ ปัจจุบันนี้กระบวนการผลิตรถยนต์ในแต่ละสาย (Line)การผลิตได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากโดยสายการผลิต แต่ละสายอาจประกอบด้วยการผลิตรถยนต์หลายๆรุ่นในเวลาเดียวกันซึ่งปัจจุบัน TOYOTA  Thailand สามารถผลิตรถยนต์มากสุดถึง 5  รุ่นในสายการผลิตสายหนึ่งดังนั้นจะเห็นได้ว่าความต่อเนื่องของการผลิต (Continuous Flow Processing) ในแต่ละขั้นตอนมีส่วนสําคัญอย่างยิ่งการทําให้ระบบ Just In Time  ประสบ ความสําเร็จ 

       ระบบคัมบัง (Kanban System)  เป็นอีกระบบหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ JIT ที่ได้รับการ พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้การทํางานมีการประสานงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ ระบบคัมบังของโตโยต้าอาจ เรียกได้ว่า “ระบบบัตรสองใบ”        หรือ “Two-card System” จะใช้แผ่นกระดาษเพื่อเป็นสัญญาณแสดงความ ต้องการให้มีการ “ส่ง” ชิ้นส่วนเพิ่มเติม (Conveyance Kanban : C-card )  และใช้แผ่นกระดาษเดียวกันหรือที่ มีลักษณะเหมือนกันเพื่อเป็นสัญญาณแสดงความต้องการให้ “ผลิต” ชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น(Production Kanban : P- card )  ซึ่งบัตรนี้จะติดไปกับภาชนะ ( Container ) ที่ใส่วัตถุดิบซึ่งหลักการดําเนินงานของระบบ Kanban นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักการต่างๆที่สําคัญดังต่อไปนี้ 
     • ในแต่ละภาชนะจะต้องมีบัตรอยู่ด้วยเสมอ
     • หน่วยงานประกอบจะเป็นผู้เบิกจ่ายชิ้นส่วนจากหน่วยผลิตโดยระบบดึง
     • ถ้าไม่มีใบเบิกที่มีคําสั่งอนุมัติ จะไม่มีการเคลื่อนภาชนะออกจากที่เก็บ
     • ภาชนะจะต้องบรรจุชิ้นส่วนในปริมาณที่ถูกต้องและมีคุณภาพที่ดีเท่านั้น
     • ชิ้นส่วนที่ดีเท่านั้นที่จะถูกจัดส่งและใช้งานในสายการผลิต
     • ผลผลิตรวมจะไม่มากเกินไปกว่าคําสั่งผลิตที่ได้บันทึกลงใน P-Card และวัตถุดิบที่เบิกใช้จะต้องไม่ มากกว่าจํานวนชิ้นส่วนที่บันทึกลงใน C-Card
 
       รูปที่ 2  แสดงถึงตัวอย่างของการปฎิบัติงานด้วยระบบ Kanban   ที่แสดงถึงสายการประกอบหนึ่งมี ชิ้นส่วน A  และ B  เป็นชิ้นส่วนหลักสําหรับการผลิตชิ้นส่วน A  และชิ้นส่วน B  เมื่อถูกผลิตขึ้นแล้วจะเก็บไว้ที่ คลังข้างหน่วยผลิตและคัมบังสั่งผลิตจะถูกติดไว้กับชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นนี้ พนักงานจะขนของจากสายประกอบ ซึ่งกําลังประกอบผลิตภัณฑ์ A  จะไปยังคลังของหน่วยผลิตเพื่อเบิกถอนชิ้นส่วน A  เท่าที่จําเป็นโดยนําคัมบัง เบิกถอนไปด้วยและที่คลังของชิ้นส่วน A เขาจะหยิบกล่องบรรจุชิ้นส่วน A ตามจํานวนของคัมบังเบิกถอนและ จะปลดคัมบังสั่งผลิตที่ติดอยู่กับชิ้นส่วน A ออกจากกล่องเหล่านี้ไว้ที่คลังจากนั้นเขาก็จะนํากล่องชิ้นส่วน A ไป ยังสายประกอบพร้อมกับคัมบังเบิกถอนในเวลาเดียวกันคัมบังสั่งผลิตที่โดนปลดไว้ที่คลังชิ้นส่วน A ของ หน่วยผลิตจะแสดงถึงจํานวนหน่วยของชิ้นส่วนที่โดนเบิกถอนไปบัตรคัมบังเหล่านี้จะเป็นเสมือนคําสั่งผลิต ให้แก่หน่วยผลิตในกระบวนการต่อไปซึ่งชิ้นส่วน A ก็จะถูกผลิตขึ้นตามจํานวนบัตรคัมบังสั่งผลิตตามปกติใน หน่วยผลิตดังกล่าวชิ้นส่วน A และชิ้นส่วน B จะถูกเบิกถอนไปทั้งคู่แต่ชิ้นส่วนเหล่านี้จะถูกผลิตขึ้นตามลําดับ การโดนปลดออกของคัมบังสั่งผลิตหรืออีกนัยหนึ่งคือตามลําดับการเบิกถอนของชิ้นส่วนโดยสายประกอบ นั่นเอง
ระบบการผลิตแบบโตโยต้า
วัตถุประสงค์หลักของระบบการผลิตแบบ Just In Time นั้นมีดังต่อไปนี้ 
    • ให้มีวัสดุคงคลัง (stock)  ประเภทต่างๆอยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือไม่มีอยู่เลยเพื่อให้ไม่เกิด ต้นทุนการจัดเก็บต้นทุนค่าเสียโอกาส 
    • ให้ลดเวลานําหรือเวลารอคอยในกระบวนการต่างๆให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่ต้องรอคอยเลย เพื่อไม่ให้เกิดเวลาว่างเปล่าของพนักงานและอุปกรณ์และให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่
    • ให้ขจัดของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
    • ให้ขจัดความสูญเปล่า 7 ประการในกระบวนการผลิตได้แก่ไม่ผลิตมากเกินไปไม่เกิดการรอ คอยระหว่างการผลิตไม่เกิดการเคลื่อนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไปไม่เกิดการ ปฏิบัติงานที่ไม่จําเป็น ไม่มีวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปมากเกินไปไม่มีการเคลื่อนไหวที่ ไม่จําเป็นของผู้ปฏิบัติงานและไม่มีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ
       ซึ่งประโยชน์ของการใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีหรือ Just In Time นั้นมีมากมายหลายประการ ด้วยกันนอกเหนือจากจะสามารถลดต้นทุนการจัดเก็บและต้นทุนค่าเสียโอกาสแล้วยังเป็นการยกระดับ คุณภาพสินค้าให้สูงขึ้นลดของเสียจากการผลิตให้ลดน้อยลงระบบการผลิตมีความคล่องตัวมากขึ้นระยะเวลา ในการผลิตรวมน้อยลงระบบการพยากรณ์ในการผลิตแม่นยํามากขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าได้เร็วขึ้นคนงานมีส่วนร่วมในการทํางานและมีความรับผิดชอบในงานมากขึ้นและคนงานทํางานอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น
JIDOKA 
       JIDOKA  หรือในความหมายของคําภาษาอังกฤษว่า “Autonomation”   หมายความว่าการควบคุม ตัวเองโดยอัตโนมัติ ในความหมายของ TOYOTA  คือการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรในการป้องกันความ ผิดพลาดในการทํางานที่อาจจะทําให้สินค้าเสียเกิดขึ้นหรือในทุกๆกระบวนการหากเกิดการผิดพลาดขึ้นจะ มีระบบอัตโนมัติเพื่อหยุดยั้งการส่งสินค้าที่มีความเสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐานไปยังกระบวนการต่อไป ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าสําเร็จรูปที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐานส่งไปยังถึงมือลูกค้าได้หรือ อาจกล่าวอย่างสั้นๆได้ว่าระบบ JIDOKA คือกระบวนการควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตหรือในเครื่องจักร 
       ในทางปฎิบัติของ TOYOTA  ระบบ JIDOKA  จะเริ่มจากการติดตั้งสัญญาณไฟฟ้า (Andon)  ที่จะบอก ชื่อรถรุ่นและข้อมูลต่างๆที่จะทําให้พนักงานทราบว่าจะต้องประกอบชิ้นส่วนใดบ้างอะไหล่ใดบ้างหากพบ ข้อผิดพลาดที่ไม่จําเป็นต้องมีการหยุดสายการผลิตเช่นพนักงานใส่หรือประกอบชิ้นส่วนผิดพลาดจากที่ กําหนดไว้ สัญญาณเตือนจะดังขึ้นทันที แต่หากว่ามีเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นบริษัทได้มีระบบที่เรียกว่าการ กําหนดจุดหยุด (Fixed Position Stop System)  ไว้โดยพนักงานสามารถดึงสัญญาณนี้เพื่อเป็นการเรียกให้ หัวหน้างานได้สามารถเข้ามาตรวจสอบและแก้ไขได้ทันท่วงที นอกจากนั้นณขั้นตอนสุดท้ายของระบบนั้นยังมี ระบบที่เรียกว่า POKAYOKE หรือเครื่องมือที่ป้องกันสถานการณ์อันผิดปกติอันอาจเป็นเหตุให้เกิดปัญหาได้ ก่อนที่จะส่งต่อไปยังระบบอื่นๆ 
       ข้อดีของระบบ Jidoka นั้นไมเพียงแตจะชวยใหไมมีสินค้าเสียหายหรือไม่ได้มาตรฐานเกิดขึ้นเท่านั้น แต่จะช่วยให้การไหลของวัสดุในระบบ JIT ทําได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งจะช่วยลดเวลาการทํางานและ ป้องกันการเกิดของเสีย (Waste) ในระบบเช่นการเสียเวลาตรวจสอบสินค้าการรอคอยการขนส่งและสินค้า เสียหายหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐานซึ่งหลักการ 3  ประการที่สําคัญของ Jidoka  คือการแยกการทํางานของ พนักงานกับการทํางานของเครื่องจักรออกจากกันการพัฒนาอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อป้องกันการทําให้สินค้า เสียหายหรือไม่ได้คุณภาพและการประยุกต์ใช้ Jidoka กับกระบวนการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ 
    
นอกจากนี้ TOYOTA  ยังได้ระบุด้วยว่าสาเหตุสําคัญที่ทําให้คุณภาพในการผลิตลดลงนั้นมี 3  สาเหตุ ด้วยกันคือ 
     • MUDA คือการเคลื่อนไหวของพนักงานประกอบที่ไม่เกิดคุณค่า 
     • MURI คือการรับภาระเกินความสามารถของบุคคลและอุปกรณ์ 
     • MURA คือแผนการผลิตหรือปริมาณการผลิตที่ไม่สมํ่าเสมอ 
       นอกเหนือจากระบบการผลิตแบบ Just In Time และ Jidoka อันโด่งดังแล้ว TOYOTA ยังมีชื่อเสียงใน เรื่องของระบบการประกันคุณภาพ (Quality Assurance : QA) อยู่ในระดับโลกซึ่งในระบบ QA ของ TOYOTA นี้จะเริ่มตั้งแต่เริ่มผลิตสินค้าถึงมือลูกค้าและยังรวมถึงกระบวนการแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้าเมื่อลูกค้าพบปัญหา จากตัวสินค้าของ TOYOTA  โดยนโยบายด้านคุณภาพของ TOYOTA  คือการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ ลูกค้าโดยการสร้างระบบการประกันคุณภาพในกระบวนการผลิต (Built  in  Quality)   ซึ่ง TOYOTA    ได้ กําหนดให้พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมให้เป็นทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้ตรวจสอบงานเพื่อสร้างและปลูกฝังให้ ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตทั้งหมดทุกกระบวนการ 

       นอกเหนือจากระบบการผลิตที่เป็นเลิศของ TOYOTA   แล้วหัวใจสําคัญของ TOYOTA     ที่ทําให้ TOYOTAประสบความสําเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในระดับโลกและไม่มีคู่แข่งรายได้สามารถแข่งขันได้ในปัจจุบันนั้น คือวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกหล่อหลอมให้เป็นปรัชญาในการทํางานร่วมกันและเป็นพฤติกรรมการปฏิบัติร่วมกัน ขององค์กรหรือที่เราเรียกกันว่าหลักการ TOYOTA WAY  ที่ประกอบด้วยหลักสําคัญ 5  ประการได้แก่ความท้าทาย (Challenge) ไคเซ็น (Kaizen) เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu) การยอมรับนับถือ (Respect) และ การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
       ความท้าทาย (Challenge)  ในมุมมองของ TOYOTA   คือการสร้างวิสัยทัศน์ในระยะยาวและจะ ปฎิบัติด้วยความกล้าหาญให้บรรลุความท้าทายนั้นเพื่อให้ฝันเป็นจริงตัวอย่างความท้าทายของ TOYOTA คือ การพยายามผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้มีคุณภาพมากกว่ารถยนต์ยี่ห้อ Benz   ซึ่งได้รับการ ยอมรับว่าเป็นรถยนต์อันดับหนึ่งของโลกและ TOYOTA  ก็สามารถทําได้โดยการผลิตรถ Lexus  ที่มีปัญหาใน ตัวรถ 1 คันเพียง 4 จุดเปรียบเทียบแล้วจะมีคุณภาพดีกว่ารถ Benz เพราะโดยปกติรถ Benz 1 คันจะมีปัญหา ถึง 6  จุดึจงถือว่ารถ Lexus  เป็นรถที่คุณภาพดีที่สุดประกอบอย่างดีที่สุดและเป็นรถที่ชาวสหรัฐอเมริกาพึง พอใจสูงสุด 
       ไคเซ็น (Kaizen)  มาจากรากศัพท์ภาษาญี่ปุ่น 2 คําคือ KAI  หมายถึง Continuous และ ZEN หมายถึง Improvement    ดังนั้น KAIZEN   เท่ากับ Continuous   Improvement   ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหมและมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลาภายใต้กระบวนการ “Plan-Do-Check-Act”  หรือ “การดูปัญหาวางแผนหาวิธีแก้ปัญหาทดลอง แล้วตรวจสอบว่าแก้ปัญหาไดั หรือไม่ถ้าเป็นวิธีที่ดีก็นําไปใช้” ซึ่งการที่ Kaizen   จะประสบความสําเร็จได้นั้นต้องมีหลักพื้นฐานคือการมี จิตสํานึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะทําให้ดีขึ้นจะต้องก่อให้เกิดการลดต้นทุน ลดการสูญเสียต่างๆมีระบบ Just in Time ทําให้พอดี และต้องสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งที่เป็นลูกค้าประเภท end-user และลูกค้าใน กระบวนการ Kaizen ไม่ใช่การเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดแต่เป็นการปรับปรุงเพราะ Kaizen ไม่จําเป็นต้องเปลี่ยน ทุกอย่างใหม่หมดเพียงแค่ปรับปรุงบางจุดเท่านั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทํางานง่ายขึ้นและผู้รับบริการสะดวกขึ้น

       การทํา Kaizen  ของ TOYOTA นั้นจะมีการทําทุกวันคือปรับปรุงไปเรื่อยๆรายละเอียดชิ้นส่วนจะเปลี่ยนอยู่ ตลอดเวลาภายหลังจากมีการทดลองทดสอบแล้ว พบว่าอะไรที่ทําให้ดีขึ้นก็จะปรับปรุง ตัวอย่างเช่นการ ปรับปรุงการขันน็อตล้อรถยนต์โดยการทําให้มีสีติดตรงเครื่องมือขันน็อตหากพนักงานขันน็อตแน่นพอจะทํา ให้สีนั้นติดที่หัวน็อตเป็นการยืนยันว่าขันน็อตให้ล้อแน่นแล้วเป็นต้นการเริ่มต้นทํา Kaizen  ที่ TOYOTA  จะ เริ่มด้วยการทํา Idea Contest เพื่อให้พนักงานนําเสนอความคิดใหม่ๆในการปรับปรุงการทํางานมีการเสนอ ความคิดกันมากกว่า 1 พันความคิดต่อเดือนและมีรางวัลให้ความคิดดีเด่นแล้วจะมีการเผยแพร่ความคิดนั้น ไปใช่ในส่วนต่างๆขององค์กรซึ่งกุญแจแห่งความสําเร็จของ Kaizen นั้นจะประกอบไปด้วย 
     • หลัก 5 ส ได้แก่สะสางสะดวกสะอาดสุขลักษณะและสร้างนิสัย 
     • หลัก 5 why โดยการถามคําถาม 5  
ครั้งจนกว่าจะเข้าใจและสามารถตอบคําถามได้ตรงตาม
                 วัตถุประสงค์ที่แท้จริง 
     • หลัก Visualization   คือ
การแสดงความโปร่งใสในการทํางานเพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึง
                  ความก้าวหน้าของงานในแต่ละวันเพื่อช่วยเตือนสติและควบคุมการทํางานให้เสร็จภายใน
                  กําหนด 
       เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi  Genbutsu)     คือการดําเนินการสอบกลับไปยังต้นกําเนิดเพื่อการค้นหา ความจริงจะสามารถทําให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องสร้างความเป็นเอกฉันท์ และบรรลุเป้าหมายได้อย่าง รวดเร็วแม่นยําซึ่ง TOYOTA        นั้นได้ใช้หลักการ Genchi  Genbutsu   นี้เพื่อการสอบหาต้นตอของปัญหาที่ แท้จริงโดยการร่วมกันค้นหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของ Dealer ต่างๆในแต่พื้นที่เพื่อให้ทราบถึง ปัญหาที่แท้จริงและได้รับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่พื้นที่นั้นๆ

       การยอมรับนับถือ (Respect)    ในมุมมองของ TOYOTA  คือการยอมรับว่าทุกคนเท่าเทียมกันโดยมี การรณรงค์ให้มีการไว้วางใจยอมรับและนับถือผู้อื่นเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเสนอความคิดได้ เพื่อกระตุ้น การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อองค์กรและสร้างความไว้วางใจระหว่างกันและกัน

       การทํางานเป็นทีม (Teamwork)  ใน TOYOTA  นั้นมีความสําคัญมากเพราะหากเกิดความผิดพลาด ขึ้นใน TOYOTA จะไม่มีการถามว่าใครเป็นคนทําให้เกิดความผิดพลาดแต่จะถามว่าเกิดอะไรขึ้นนั่นแสดงให้ เห็นว่าใน TOYOTA   นั้นมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาบุคลากรให้สามารถทํางานร่วมกันได้ และมุ่งเน้นถึง ความสําเร็จของทีมเป็นหลักนอกจากนั้นแล้วTOYOTA  ยังสนับสนุนให้เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรเป็น รายบุคคลให้มีโอกาสเติบโตในสายอาชีพของตนอีกด้วยเช่นการให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานในการศึกษาต่อ เป็นต้น 

อ้างอิง







อ้างอิงhttp://youtube.com/watch?v=3_2F_fjnP2M
ที่มาของทะเลสาบทุ่งกุลา      
      ทะเลสาบทุ่งกุลา ตั้งอยู่ที่บ้านโพนม่วง ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยแต่เดิมอ่างเก็บน้ำแห่งนี้เป็นโครงการแก้มลิงอ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ทางกรมชลประทานได้มาขุดเพื่อใช้ในการเกษตร ในพื้นที่รอยต่อระหว่างตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และมีความลึกตั้งแต่ 1-4 เมตร จำนวน 150 ไร่ รอบบริเวณอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ทั้งสิ้น 750 ไร่ ซึ่งกรมชลประทานหลังจากขุดเสร็จได้โอนความรับผิดชอบให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์เมื่อต้นปี 2555เมื่อแรกขุดน้ำก็ขุ่นตามธรรมชาติ แต่ไม่ถึงปีน้ำแห่งนี้กลับกลายเป็นสีครามและใสอย่างไม่น่าเชื่อ คาดว่าในอดีตน้ำแห่งนี้เป็นน้ำกร่อยและบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งผลิตเกลือสินเทามาก่อนเลยทำให้เปรียบเสมือนเป็นตัวกรองน้ำให้ใสเหมือนสีฟ้าของท้องฟ้าและมีความสวยงามเหมือนดั่งน้ำทะเลไม่ผิดเพี้ยน
การเดินทาง

          สามารถเดินทางได้โดยขึ้นรถประจำทางสาย สุรินทร์-สตึก จาก บขส.  ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ ไปทิศเหนือผ่านอำเภอท่าตูม ไปอำเภอชุมพลบุรี รวมระยะทาง 68 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางมีบางช่วงเส้นทางกำลังเร่งปรับปรุงอยู่ในขณะนี้  สามารถขับมอเตอร์ไซต์รถยนต์หรือเหมารถเดินทางไปก็ได้แล้วแต่ความสะดวก
อาหาร
         เมนูอาหารที่มีในสถานที่ท่องเที่ยวก็มีอาหารทั่วไป เช่น ปลานึ่งมะนาว ส้มตำ ไก่ยาง ปลาเผา ลาบ ก้อย เป็นต้น และมีของขายทั่วไป ซึ่งบรรยากาศที่นั่งรับประทานอาหารก็จะมีกระท่อมและเตียงไว้นั่งข้างสระน้ำ ชมวิวดูท้องน้ำ
เครื่องเล่น
                 เครื่องเล่นที่มีในทะเลสาบ เช่น เป็ดน้ำ บานาน่าโบ๊ท  กระท่อมแพ ห่วงยาง เจ็ทสกีโดยสถานที่แห่งนี้ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และมีจุดประสงค์ให้สถานที่ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมของพี่น้องชาวตำบลไพรขลาเพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีความร่วมมือในชุมชนไม่ว่าเป็นการปล่อยพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แต่ต่อมาได้รับนิยมจากนักท่องเที่ยวจนกระทั่งทำให้แต่ละปีจะมีผู้มาเที่ยวชมทะเลสาบทุ่งกุลาตำบลไพรขลามีจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั่งจากจังหวัดอื่น ชาวต่างประเทศ หรือชาวจ.สุรินทร์ มาเที่ยวชมความงดงาม และสัมผัสบบรรยากาศที่มหัศจรรย์กับ ทะเลสาบทุ่งกุลาตำบลไพรขลาแม่น้ำสีคราม” ซึ่งถือเป็นแหล่งพักผ่อนท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ จังหวัดสุรินทร์ ที่หากมาแล้วรับรองไม่ผิดหวัง

อ้างอิงhttp://laddawanchan.blogspot.com/
















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สาขาการประเมินผลเเละวิจัยทางการศึกษา

ทะเลสาบทุ่งกุลา

สาขาการประเมินผลเเละวิจัยทางการศึกษา