สาขาการประเมินผลเเละวิจัยทางการศึกษา




สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 1   นำข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในด้านลักษณะสถานที่ ประเภท
สถานที่ จำนวนผู้อาศัย งบประมาณ พื้นที่อาคาร มาทำการวิเคราะห์ โดยใช้สถิติ นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตาราง เพื่ออธิบายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2   นำข้อมูลผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อระบบกล้องวงจรปิด ด้านความรู้สึกปลอดภัย ความรู้สึกแปลกใหม่ ความรู้สึกสวยงาม ความจงรักภักดีต่อตราสินค้า ความรู้สึกในภาพลักษณ์ที่ดี ความรู้สึกน่าเชื่อถือ และความรู้สึกทันสมัยมาทำการรวมกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 3   ทำการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) โดยใช้การวิเคราะห์
เชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้สถิติค่า Pearson Correlation วิเคราะห์ความสัมพันธ์
ในการทดสอบที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับและ ปฎิเสธสมมติฐานในการวิจัย
3.6.1    สถิติพื้นฐานทั่วไป
  1. สูตรหาค่าร้อยละ (Percentage) เพื่อใช้แปลความหมายของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามตามส่วนที่ 1 (ข้อ 1-7) การนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางแจกแจงความถี่ (Frequency Table)
p
  1. สูตรค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean หรือ ) เพื่อใช้แปลความหมายของข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ในแบบสอบถามส่วนที่ 2
x
  1. สูตรความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation หรือ S.D.) เพื่อใช้แปลงความหมายของข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ในแบบสอบถามส่วนที่ 2
sd
  1. การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยใช้สูตรการหา สัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) (กัลยา วานิชย์บัญชา. 2548 : 449) ดังนี้
a
3.6.2    สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน
5. สถิติทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่ม ใช้สำหรับทดสอบสมมติฐานที่เกี่ยวกับเพศ (ชวนชัย เชื้อสาธุชน, 2546: 177 อ้างถึงใน สุมาลี สิงขรอาสน์, 2553: 54) ดังนี้
t
  1. สถิติทดสอบค่าเอฟ (F-test) สำหรับวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ใช้สำหรับข้อมูลด้านลักษณะสถานที่ ประเภทสถานที่ จำนวนผู้อาศัย งบประมาณ และ ขนาดพื้นที่
f
การทดสอบ โดยการใช้ตาราง Test of Homogeneity of Variance ถ้าความแปรปรวนแต่ละกลุ่มเท่ากันคือ มีค่า Sig. มากกว่า 0.05 หมายถึงยอมรับสมมติฐานหลัก ( ) ปฏิเสธสมมติฐานรอง ( ) ให้ทดสอบโดยตาราง Anova ถ้าค่า Sig. มีค่าน้อยกว่า  0.5 คือค่าความแปรปรวนแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน หมายถึง จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก ( ) และยอมรับสมมติฐานรอง ( ) แสดงว่ามีค่าเฉลี่ยอย่างน้อยหนึ่งคู่ที่แตกต่างกัน จะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 หรือระดับความเชื่อมั่น 95 % เพื่อดูว่ามีคู่ใดบ้างที่แตกต่างกันโดยใช้วิธีทดสอบแบบเชฟเฟ (Scheffe) ใช้สูตรดังนี้
s
หากทดสอบความแปรปรวนของแต่ละกลุ่ม โดยใช้ตาราง Test of Homogeneity of Variance ถ้าค่าความแปรปรวนแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน คือ มีค่า Sig. น้อยกว่า 0.05 หมายถึงปฏิเสธสมมติฐานหลัก ( ) และยอมรับสมมติฐานรอง ( ) ให้ทดสอบโดยใช้ตาราง Welch test ถ้ามีค่า Sig. น้อยกว่า 0.05 คือค่าความแปรปรวนแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน หมายถึงจะปฏิเสธสมมติฐานหลัก ( ) และยอมรับสมมติฐานรอง ( ) แสดงว่ามีค่าเฉลี่ยอย่างน้อยหนึ่งคู่ที่แตกต่างกัน จึงนำไปเปรียบเทียบเชิงซ้อน (Multiple comparison) โดยวิธีการทดสอบแบบ Tamhane’s T2 เพื่อหาว่าค่าเฉลี่ยคู่ใดบ้างแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ใช้สูตรดังนี้
welch-test
t2
จากแนวทางวิธีการดำเนินการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยได้นำผลการตอบแบบสอบถามที่ ได้มาประมวลผลและวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ได้กำหนดตามกรอบแนวคิดของงานวิจัยเรื่อง การศึกษากระบวนการในการตัดสินใจซื้อระบบกล้องวงจรปิด ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะเสนอในบทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
flow
ภาพที่ 3.1 แสดงขั้นตอนการทดสอบสถิติค่าเอฟ (F-test)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทะเลสาบทุ่งกุลา

สาขาการประเมินผลเเละวิจัยทางการศึกษา